วันอังคารที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2557

เครื่องตี

     เครื่องตี เป็นเครื่องดนตรีที่ทำให้เกิด เสียงดนตรีด้วยการใช้ของสองสิ่งกระทบกัน ด้วยการตี นับว่าเป็นเครื่องดนตรีประเภท เก่าแก่ที่สุดที่ที่มนุษย์รู้จักใช้ ได้มีวิวัฒนาการจากอุปกรณ์ง่ายๆ ให้มี ความหลากหลายออกไปทั้งรูปแบบและวัสดุที่ใช้ สำหรับเครื่องดนตรีไทย ที่เป็นประเภทเครื่องตีมีดังนี้
     ๑.ตะโพน เป็นเครื่องดนตรีที่ขึงด้วยหนัง ตัวตะโพนทำด้วยไม้สักหรือไม้ขนุน เรียกว่า หุ่น ขุดแต่งให้เป็นโพรงภายใน ขึ้นหนัง ๒ หน้า ดึงด้วยสายหนังโยงเร่งเสียงเรียกว่า หนังเรียด หน้าใหญ่มีความกว้างประมาณ ๒๕ ซม เรียกว่า หน้าเท่ง ติดหน้าด้วยข้าวสุกบดผสมกับขี้เถ้าเพื่อถ่วงเสียง อีกหน้าหนึ่งเล็กกว่ามีขนาดประมาณ ๒๒ ซม เรียกว่า หน้ามัด ตัวกลองยาวประมาณ ๔๘ ซม รอบ ๆ ขอบหนังที่ขึ้นหน้า ถักด้วยหนังที่ตีเกลียวเป็นเส้นเล็กๆ เรียกว่า ไส้ละมาน แล้วจึงเอาหนังเรียดร้อยในช่วงของไส้ละมานทั้งสองข้าง โยงเรียงไปโดยรอบจนมองไม่เห็นไม้หุ่น มีหนังพันตรงกลางเรียกว่า รัดอก ข้างบนรัดอกทำเป็นหูหิ้วและมีเท้ารองให้ ตัวตะโพนวางนอนอยู่บนเท้า ใช้ฝ่ามือซ้ายขวาตีได้ทั้งสองหน้า ใช้สำหรับบรรเลงผสมอยู่ในวงปี่พาทย์ ทำหน้าที่กำกับจังหวะหน้าทับต่าง ๆ
ที่มา : http://www.somchaidontrithai.com/cart/subcategory.asp?sid=27

      ๒.ตะโพนมอญ มีลักษณะคล้ายตะโพนของไทย แต่ใหญ่กว่า และตรงกลางหุ่นป่องน้อยกว่า มีเสียงกังวานลึกกว่าตะโพนไทย หน้าใหญ่เรียกว่า"เมิกโหน่ก" หน้าเล็กเรียกว่า"เมิกโด้ด" เป็นภาษามอญ ตะโพนมอญใช้บรรเลงผสมกับวงปี่พาทย์มอญ มีหน้าที่บรรเลงหน้าทับ และกำกับจังหวะต่างๆ
      ๓.ระนาดเอก เป็นเครื่องตีชนิดหนึ่ง ที่วิวัฒนาการมาจากกรับ แต่เดิมคงใช้กรับสองอันตีเป็นจังหวะ ต่อมาก็เกิดความคิดว่า ถ้าเอากรับหลาย ๆ อันวางเรียงราดลงไป แล้วแก้ไขประดิษฐ์ให้มีขนาดลดหลั่นกัน แล้วทำรางรองอุ้มเสียง และใช้เชือกร้อยไม้กรับขนาดต่าง ๆ กันนั้นให้ติดกัน และขึงไว้บนรางใช้ไม้ตีให้เกิดเสียง นำตะกั่วผสมกับขี้ผึ้งมาถ่วงเสียงโดยนำมาติดหัวท้ายของไม้กรับนั้น ให้เกิดเสียงไพเราะยิ่งขึ้น เรียกไม้กรับที่ประดิษฐ์เป็นขนาดต่างๆกันนั้นว่า ลูกระนาด เรียกลูกระนาดที่ผูกติดกันเป็นแผ่นเดียวกันว่า ผืน ระนาดเอกใช้ในงานมงคล เป็นเครื่องดนตรีเป็นมงคลในบ้าน บรรเลงในวงปี่พาทย์และวงมโหรี โดยทำหน้าที่เป็นผู้นำวง
ที่มา : http://dusithost.dusit.ac.th/~u52116940207/dontreethai/teemai2.html

     ๔.ระนาดเอกเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่ประดิษฐ์ขึ้นในรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ แต่เดิมลูกระนาดทำด้วยทองเหลือง จึงเรียกกันว่าระนาดทอง ในเวลาต่อมาได้มีการประดิษฐ์ลูกระนาดด้วยเหล็ก ระนาดเอกเหล็กมีจำนวน ๒๐ หรือ ๒๑ ลูก โดยวางไว้บนรางที่มีไม้ระกำวางพาดไปตามของราง หากไม่มีไม้ระกำ ก็อาจใช้ผ้าพันไม้แล้วนำมารองลูกระนาดก็ได้ ลูกต้น ของระนาดเอกเหล็กมีขนาด ๒๓.๕ ซม กว้างประมาณ ๕ ซม ลดหลั่นขึ้นไปจนถึงลูกยอดที่มีขนาด ๑๙ ซม กว้างประมาณ ๔ ซม รางของระนาดเอกเหล็กนั้น ทำเป็นรูปสี่เหลี่ยม มีเท้ารองรับไว้ทั้ง ๔ ด้านหรืออาจใส่ลูกล้อเพื่อสะดวกในการขนย้ายก็ได้
ที่มา : http://jularat.lnwshop.com/product/20/%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B9%87%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%87%E0%B8%B2

     ๕.ระนาดทุ้ม เป็นเครื่องดนตรีที่สร้างขึ้นมาในรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นการสร้างเลียนแบบระนาดเอก ใช้ไม้ชนิดเดียว กันกับระนาดเอก ลูกระนาดทุ้มมีจำนวน ๑๗ หรือ ๑๘ ลูก ลูกต้นยาวประมาณ ๔๒ ซม กว้าง ๖ ซม และลดหลั่นลงมาจนถึงลูกยอด ที่มีขนาดยาว ๓๔ ซม กว้าง ๕ ซม รางระนาดทุ้มนั้นประดิษฐ์ให้มีรูปร่างคล้ายหีบไม้ แต่เว้าตรงกลางให้โค้ง โขนปิดหัวท้ายเพื่อ เป็นที่แขวนผืนระนาดนั้น ถ้าหากวัดจากโขนด้านหนึ่งไปยังโขนอีกด้านหนึ่ง รางระนาดทุ้มจะมีขนาดยาวประมาณ ๑๒๔ ซม ปาก รางกว้างประมาณ ๒๒ ซม มีเท้าเตี้ย รองไว้ ๔ มุมราง หน้าที่ในวงของระนาดทุ้มนั้น ทำหน้าที่เดินทำนองรอง ในทางของตนเองซึ่งจะมีจังหวะโยน ล้อ ขัด ที่ทำให้เกิดความไพเราะและเติมเต็มช่องว่างของเสียง อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของระนาดทุ้ม
ที่มา : http://www.somchaidontrithai.com/cart/detail.asp?id=40

     ๖.ระนาดทุ้มเหล็ก เป็นเครื่องดนตรีที่พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ในรัชกาลที่ ๔ มีพระราชดำริให้สร้างขึ้น ลูกระนาดทำอย่างเดียวกับระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็กมีจำนวน ๑๖ หรือ ๑๗ ลูก ลูกต้นยาวประมาณ ๓๕ ซม กว้างประมาณ ๖ซมและลดหลั่นลงไปจนถึงลูกยอดซึ่งยาวประมาณ ๒๙ ซม กว้างประมาณ ๕.๕ ซม ตัวรางระนาดยาวประมาณ ๑ เมตร ปากราง กว้างประมาณ ๒๐ ซม มีชานยื่นออกไปสองข้างราง ถ้านับส่วนกว้างรวมทั้งชานทั้งสองข้างด้วย รางระนาดทุ้มเหล็กจะกว้าง ประมาณ ๓๖ ซม มีเท้ารองติดลูกล้อ ๔ เท้า เพื่อให้เคลื่อนที่ไปมาได้สะดวก ตัวรางสูงจากพื้นถึงขอบบนประมาณ ๒๖ ซมระนาดทุกชนิดที่กล่าวมานั้น จะใช้ไม้ตี ๒ อันระนาดทุ้มเหล็กทำหน้าที่เดินทำนองคล้ายฆ้องวงใหญ่เพียงแต่เดินทำนองห่างกว่า
ที่มา : http://www.thaitambon.com/tambon/tsmepdesc.asp
Prod=02920101155&ID=710110&SME=02110133119

     ๗.ฆ้องวงใหญ่ เป็นเครื่องดนตรีที่วิวัฒนาการมาจากฆ้องรางของอินโดนีเซีย สันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ส่วนประกอบของฆ้องวงใหญ่ประกอบด้วยลูกฆ้องและวงฆ้อง ลูกฆ้องมี ๑๖ ลูกทำจากทองเหลือง เรียงจากลูกเล็กด้านขวา วงฆ้องสูงประมาณ ๒๔ เซนติเมตร ใช้หวายโป่งทำเป็นราง ให้หวายเส้นนอกกับเส้นในห่างกัน ๑๔-๑๗ เซนติเมตร ใช้หวาย ๔ อัน ด้านล่าง ๒ อันขดเป็นวงขนานกัน เว้นที่ไว้ให้นักดนตรีเข้าไปบรรเลงฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุด เพราะคนที่จะเล่นดนตรีในวงปี่พาทย์ต้องมาเรียนฆ้องวงใหญ่ก่อน ฆ้องวงใหญ่ทำหน้าที่เดินทำนองหลัก ซึ่งถือเป็นแม่บทของเพลง ฆ้องวงใหญ่ใช้เล่นในวงปี่พาทย์ วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงมโหรี
ที่มา : http://skate13814444.blogspot.com/

      ๘.ฆ้องวงเล็ก เป็นเครื่องดนตรีไทยสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ มีลักษณะเหมือนกับฆ้องวงใหญ่ แต่ลูกฆ้องมีขนาดเล็กกว่า มีลูกฆ้อง ๑๘ ลูก บรรเลงทำนองคล้ายระนาดเอก แต่ตีเก็บถี่กว่าระนาดเอก ฆ้องวงเล็กใช้วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์ไม้นวม วงปี่พาทย์นางหงส์ และวงมโหรี
ที่มา : http://dusithost.dusit.ac.th/~u52116940207/dontreethai/teeloha3.html

     ๙.ฆ้องมอญ เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับอิทธิพลมาจากมอญมีลักษณะตั้งโค้งขึ้นไป ไม่ตั้งราบกับพื้นแบบฆ้องไทย วงฆ้องทำจากไม้แกะสลักปิดทองอย่างสวยงาม ทางโค้งด้านซ้ายของผู้ตีแกะเป็นรูปต่างๆตามต้องการ แต่ส่วนใหญ่จะนิยมรูปเทวดา ทางโค้งด้านขวาทำเป็นรูปปลายหาง มีเท้ารองตรงกลางเหมือนระนาดเอก ฆ้องมอญมีลูกฆ้อง ๑๕ ลูก แต่ฆ้องมอญจะไม่เรียงเสียงเหมือนฆ้องไทย ในบางช่วงมีการข้ามเสียง เรียกเสียงที่ข้ามว่า"หลุม"ฆ้องมอญทำหน้าที่เดินทำนองเพลงเช่นเดียวกับฆ้องวงใหญ่ของไทย ฆ้องมอญมี ๒ ขนาดเหมือนกับฆ้องไทยคือ ฆ้องมอญใหญ่และฆ้องมอญเล็ก
ที่มา : http://www.thaitambon.com/tambon/tsmeplist.asp?ID=710110&page=9&SME=02110133119

     ๑๐.ฆ้องระเบ็ง ใช้ตีประกอบการและแสดงระเบ็ง ชุดหนึ่งมีสามลูก มีขนาดและให้เสียงสูง-ต่ำ ต่างกัน มีชื่ออีกอย่างหนึ่งตามลักษณะว่า "ฆ้องราว" ฆ้องราง ใช้ตีดำเนินทำนอง ชุดหนึ่งมี ๗-๘ ลูก เสียงลูกที่ ๑ กับลูกที่ ๘ เป็นเสียงเดียวกัน แต่ต่างระดับเสียง ปัจจุบันไม่มีการใช้ในวงดนตรีไทย
ที่มา : http://student.nu.ac.th/thaimusic_akez/tee2.htm

     ๑๑.กลองแขก เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีที่มีรูปร่างยาวเป็นรูปทรงกระบอก ขึ้นหนังสองข้างด้วยหนังลูกวัวหรือหนังแพะ. หน้าใหญ่ กว้างประมาณ ๒๐ ซม. เรียกว่า หน้ารุ่ยหรือ "หน้ามัด" ส่วนหน้าเล็กกว้างประมาณ ๑๕ ซม. เรียกว่า หน้าต่านหรือ"หน้าตาด" ตัวกลองหรือหุ่นกลองสามารถทำขึ้นได้จากไม้หลายชนิดแต่โดยมากจะนิยมใช้ไม้เนื้อแข็งมาทำเป็นหุ่นกลอง เช่นไม้ชิงชัน ไม้มะริด ไม้พยุง กระพี้เขาควาย ขนุน สะเดา มะค่า มะพร้าว ตาล ก้ามปู เป็นต้น ขอบกลองทำมาจากหวายผ่าซีกโยงเรียงเป็นขอบกลองแล้วม้วนด้วยหนังจะได้ขอบกลองพร้อมกับหน้ากลอง และถูกขึงให้ตึงด้วยหนังเส้นเล็ก เรียกว่าหนังเรียดเพื่อใช้ในการเร่งเสียงให้หน้ากลองแต่ละหน้าได้เสียงที่เหมาะสมตามความพอใจ กลองแขกสำรับหนึ่งมี ๒ ลูก ลูกเสียงสูงเรียก ตัวผู้ ลูกเสียงต่ำเรียก ตัวเมีย ตีด้วยฝ่ามือทั้งสองข้างให้สอดสลับกันทั้งสองลูก
ที่มา : http://203.172.165.70/student/thaimusic/glawngkhaek.html

     ๑๒.กลองชนะ ตามรูปร่างที่ปรากฏในบัดนี้เสมือนกลองมลายู แต่ตัวกลองสั้นกว่าและอ้วนกว่า หน้าด้านใหญ่ กว้างประมาณ ๒๖ ซม. หน้าด้านเล็ก กว้างประมาณ ๒๔ ซม. ตัวกลองยาว ๕๒ ซม. สายโยงเร่งเสียงใช้หวายผ่าซีกเหมือนกลองแขก แต่ใช้ไม้งอโค้งตีเหมือนกลองมาลายู ตัวกลองทาสีปิดทองเขียนลาย หน้ากลองก็เขียนหรือปิดด้วยทองหรือเงิน ทำเป็นลวดลายเช่นกันซึ่งมีกำหนดในการทาสี ปิดทอง และเขียนลวดลายวางไว้เป็นระเบียบ
ที่มา : http://tminstrument.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B5/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%87/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0/

     ๑๓.กลองทัด เป็นกลองสองหน้าขนาดใหญ่ ขึ้นหน้าทั้งสองข้างด้วยหนังวัวหรือหนังควาย ตรึงด้วยหมุด หุ่นกลองทำจากไม้เนื้อแข็ง กลึงคว้านข้างในจนเป็นโพรง ป่องตรงกลางนิดหน่อยหมุดที่ตรึง หนังเรียกว่าแส้ ทำด้วยไม้หรืองาหรือกระดูกสัตว์ตรงกลางหุ่น กลองมีห่วงสำหรับแขวน เรียกว่า หูระวิง กลองทัดมีขนาดหน้ากว้างเท่ากันทั้งสองข้าง วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ ๔๖ ซม ตัวกลองยาวประมาณ ๔๑ ซม กลองทัดมี ๒ ลูก ลูกที่มีเสียงสูง ดัง ตุม เรียกว่า ตัวผู้ และ ลูกที่มีเสียงต่ำตีดัง ต้อม เรียกว่า ตัวเมีย ใช้ไม้ตี ๑ คู่ มีขนาดยาวประมาณ ๕๔ ซม
ที่มา : http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/bangkok/prasong_s/thaimusic_M4/secklong.html

     ๑๔.กลองยาว เป็นเครื่องดนตรี สำหรับตีด้วยมือ ตัวกลองทำด้วยไม้ มีลักษณะกลมกลวง ขึงด้วยหนังมีหลายชนิด ถ้าทำด้วยหนังหน้าเดียว มีรูปยาวมากใช้สะพายในเวลาตี เรียกว่ากลองยาวหรือเถิดเทิง
ที่มา : http://teshwin47.blogspot.com/p/blog-page_7278.html

๑๕.กลองสองหน้า สันนิษฐานว่าเริ่มนำมาใชในสมัยรัชกาลที่ ๒ มีลักษณะคล้ายลูกเปิงมาง แต่ใหญ่กว่า หน้ากลองด้านกว้างเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๑-๒๔ เซนติเมตร ด้านเล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง ๒๐-๒๒ เซนติเมตร ตัวกลองยาว ๕๕-๕๘ เซนติเมตร ใช้ในวงปี่พาทย์เสภาและใช้ตีประกอบจังหวะการเดี่ยวเครื่องดนตรีต่างๆด้วย
         
ที่มา : http://music_thai.igetweb.com/?mo=3&art=500169


     ๑๖.โทน เป็นเครื่องดนตรีเก่าแก่เครื่องหนึ่งของไทย เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องหนัง ที่ขึงหนังหน้าเดียว เกิดขึ้นในสมัยอยุธยา ที่ใช้อยู่ในวงดนตรีไทย มี ๒ ชนิดด้วยกัน คือ โทนชาตรี และโทนมโหรี ลักษณะของโทนโดยทั่วไปจะคล้ายกัน รำมะนา เป็นกลองขึงหนังหน้าเดียว หน้ากลอง ยานผายออก หุ่นกลองนั้น รูปร่างคล้ายชามกะละมัง หรือชามอ่าง สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งของมลายู ที่เรียกว่า “เรบานา” ที่นำเข้ามาแพร่หลายในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่เดิมใช้ประกอบการร้องบันตน ซึ่งไทยได้แบบอย่างมาจากชวา ต่อมาใช้ประกอบการเล่นลำตัดและลิเกลำตัด ในการประกอบการเล่นลำตัดนั้นจะใช้รำมะนากี่ลูกก็ได้ โดยให้คนตีนั่งล้อมเป็นวงและเป็นลูกคู่ร้องไปด้วย รำมะนามีสองชนิด คือรำมะนาสำหรับวงมโหรี และรำมะนาสำหรับวงลำตัด
ที่มา : http://www.totalsoundmag.com/new_product_detail.php?id=381

     ๑๗.ฉิ่ง เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทตี ทำด้วยทองเหลือง หล่อหนา ปากผายกลม ๑ ชุด มี ๒ ฝา ฉิ่งมี ๒ ชนิดคือ ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์ และ ฉิ่งที่ใช้สำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรี ฉิ่งสำหรับวงปี่พาทย์มีขนาดที่วัดฝ่านศูนย์กลาง จากขอบข้างหนึ่งไปสุดขอบอีกข้างหนึ่ง กว้างประมาณ ๖-๖.๕ ซม เจาะรูตรงกลางสำหรับร้อยเชือก เพื่อให้จับสะดวกขณะตี ส่วนฉิ่งสำหรับวงเครื่องสายและวงมโหรีนั้น มีขนาดเล็กกว่า วัดผ่านศูนย์กลางได้ขนาดประมาณ ๕.๕ ซม
ที่มา : http://pirun.ku.ac.th/~b5411100607/Page8.html

     ๑๘.ฉาบ เป็นเครื่องดนตรีประเภทตี ทำด้วยโลหะคล้ายฉิ่ง แต่หล่อให้บางกว่า ฉาบมี ๒ ชนิดคือฉาบเล็ก และ ฉาบใหญ่ ฉาบเล็กมีขนาด ที่วัดผ่านศูนย์กลางประมาณ ๑๒-๑๔ ซม ส่วนฉาบใหญ่มีขนาดที่วัดผ่าน ศูนย์กลางประมาณ ๒๔-๒๖ ซม เวลาบรรเลงใช้ ๒ ฝามาตีกระทบกันให้เกิดเสียงตามจังหวะ เมื่อฉาบทั้งสองข้างกระทบกันขณะตีประกบกันก็ จะเกิดเสียง ฉาบ แต่ถ้าตีแล้วเปิดเสียงก็จะได้ยินเป็น แฉ่ง แฉ่ง แฉ่ง เป็นต้น
ที่มา : http://teshwin47.blogspot.com/p/blog-page_5694.html

     ๑๙.กรับเสภา เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะอีกชนิดหนึ่ง ที่ทำด้วยไม้เนื้อแข็ง โดยเฉพาะไม้ชิงชัน เหลาให้เป็นสี่เหลี่ยม ด้านบนลบเหลี่ยมเล็กน้อย เพื่อไม่ให้บาดมือและสามารถกลิ้งตัวของมันเอง กลอกกระทบกันได้สะดวก ด้านล่างนูนโค้งเล็กน้อย เดิมใช้ขยับตีในการขับเสภา ดังที่เรียกว่า ” ขยับกรับขับเสภา “ ซึ่งผู้ขับ เสภาจะเป็นผู้ขยับเอง โดยใช้กรับ ๒ คู่ ขยับคู่ละมือ ขับเสภาไปพลาง ขยับกรับสอดแทรกไปกับทำนองขับ ซึ่งมีวิธีการขยับกรับได้หลายวิธี อันถือเป็นศิลปชั้นสูงอย่างหนึ่งในการขยับกรับขับเสภา ซึ่งนิยมเล่นกันมากในสมัยโบราณ
ที่มา : http://www.bs.ac.th/musicthai/songwood.html

     ๒๐.กรับพวง เป็นเครื่องตีกำกับจังหวะที่ทำด้วยไม้ ผสมโลหะ ร้อยเชือกติดกันเป็นพวง ทั้งไม้และโลหะทำเป็นแผ่นบางๆสลับกัน โดยชิ้นนอกสุด ๒ ชิ้น จะเหลาหนา หัว และท้ายงอนโค้งงอน ด้านจับเล็ก ตอนปลายใหญ่ ร้อย เชือกทางด้านปลาย ให้หลวมพอประมาณ เวลาตีมือหนึ่งจะจับกัมตอนปลาย ให้หัวตีลงบนมืออีกข้างหนึ่ง ซึ่งจะมีเสียงไม้กับโลหะกระทบกัน เดิมใช้ตีเป็นอาณัติสัญญาณ เช่นในการเสด็จออกท้องพระโรงของพระเจ้าแผ่นดิน ที่เรียกว่า ” รัวกรับ “ โดยเฉพาะในเรือสุพรรณหงส์ พระราชพิธีทอดผ้าพระกฐินทางชลมารค เจ้าพนักงานจะรัวกรับ เพื่อบอกฝีผายทำความเคารพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และออกเรือ ในวงการดนตรี จะใช้กรับพวงตีร่วมในวงปี่พาทย์ ประกอบการแสดงละคอนนอก ละครใน ตลอดจนโขน ละคอนที่แสดงภายใน โดยเฉพาะเพลงร่าย
ที่มา : http://tminstrument.wordpress.com/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B5/%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%84%E0%B8%A1%E0%B9%89/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%9A%E0%B8%9E%E0%B8%A7%E0%B8%87/

     ๒๑.โหม่ง เป็นเครื่องดนตรีประเภทตีชนิดหนึ่ง ใช้ตีประกอบจังหวะ โหม่ง คือ ฆ้องคู่ เสียงต่างกันที่เสียงแหลมเรียกว่า "เสียงโหม้ง" ที่เสียงทุ้มเรียกว่า"เสียงหมุ่ง" หรือ บางครั้งอาจจะเรียกว่าลูกเอกและลูกทุ้มซึ่งมีเสียงแตกต่างกันเป็นคู่ห้า แต่ปัจจุบันเป็นคู่แปด วิธีตีโหม่งในวงเครื่องสายหรือปี่พาทย์ ผู้ตีนั่งขัดสมาธิ ให้โหม่งวางอยู่ตรงหน้า จับไม้ตีตีตรง กลางปุ่มด้วยน้ำหนักพอประมาณเนื่องจากโหม่งชนิดนี้มีเสียงดังกังวานยาวนาน จึงนิยมตีห่างๆ คือสองฉิ่งสอง ฉับต่อการตีโหม่งครั้งหนึ่ง แต่ถ้าเป็นวงกลองยาวหรือวงมังคละ จะนิยมตีลงที่จังหวะหนัก(ฉับ)ตลอดโดยไม่เว้น
ที่มา : http://www.thaitambon.com/tambon/tsmepdesc.asp?Prod=0292014914&ID=710110&SME=02110133119

     ๒๒.ขิม พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานให้คำอธิบายไว้ว่า "เครื่องดนตรีจีนชนิดหนึ่ง รูปคล้ายพระจันทร์ครึ่งซีกใช้ตี" ขิมถูกนำเข้ามาในประเทศไทยในสมัยรัชกาลที่ ๔ โดยชาวจีนนำมาบรรเลงรวมอยู่ในวงเครื่องสายจีน และประกอบการแสดงงิ้วบ้าง บรรเลงในงานเทศกาล และงานรื่นเริงต่างๆบ้าง

การเดี่ยวขิมเพลงแป๊ะฮวยพัง


 ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B8%B4%E0%B8%A1

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น